การบินโดรนในประเทศไทย
สิ่งที่ท่านจะต้องทราบ
- ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการบังคับ Drone ในประเทศไทย
- ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนโดรนในประเทศไทย
- ประกันภัยขั้นต่ำสำหรับโดรนที่บินในประเทศไทย
บริษัทฯ มีความยินดีที่จะจัดหาความคุ้มครอง เงื่อนไขการประกันภัย ข้อจำกัด รวมถึงข้อยกเว้น ตามรายละเอียดที่ท่านแจ้งจำนง
ตามประกาศจากกรมการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย การบังคับอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) นั้น สามารถปฎิบัติได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้สรุปข้อปฏิบัติสำหรับการบังคับ Drone ภายในประเทศไทย ดังนี้
ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการบังคับ Drone ในประเทศไทย
บริษัทฯ ได้รวบรวมข้อปฎิบัติ รวมทั้งการตีความตามกฎหมาย และสรุปสาระสำคัญไว้ ดังนี้
- Drone ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ครอบครอง Drone และขึ้นทะเบียนผู้บังคับ Drone และ จัดเอาประกันภัยสำหรับ Drone ดังกล่าว
1) มีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพ และ
2) มีน้ำหนัก 2 กิโลกรัม (4.4 ปอนด์) หรือมากกว่านั้น - Drone ที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม (55 ปอนด์) จะต้องทำการจดทะเบียนกับกระทรวงคมนาคม
- ผู้บังคับหรือปล่อย Drone จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี หรือ ได้รับการควบคุมจากผู้ปกครอง
- ผู้บังคับหรือปล่อย Drone ต้องสามารถมองเห็น Drone ได้ตลอดเวลาที่ทำการบินและห้ามทำการบังคบ
- ห้ามบังคับ Drone เข้าใกล้เครื่องบิน
- ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นโดรนได้อย่างชัดเจน
- ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรือ อาคาร ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินน้อยกว่า 30 เมตร (100 ฟุต) สำหรับ Drone ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และน้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต) สำหรับ Drone ที่มีน้ำหนักระหว่าง 2 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม
- ห้ามทำการบินเข้าไปในบริเวณเขตหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ห้ามทำการบินในระยะ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์) จากสนามบิน เว้นแต่ได้รับอนุญาต
- ห้ามบินสูงเกิน 90 เมตร (295 ฟุต) นับจากพื้นดิน
หากมีข้อสงสัย ท่านสามารถติดต่อกรมการบินพลเรือนโดยตรงที่ email: [email protected] หรือ โทร +66 (0) 2568-8800.
ข้อมูลข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง บริษัทฯ แนะนำให้ท่านตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็ลไซต์ของกรมการบินพลเรือน WWW.CAAT.or.th
เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแก่โดรนของท่าน ท่านจะต้องแจ้งอุบัติเหตุดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า
(ในเวลาราชการ โทร 02 568 8800 ต่อ 1504 โทรสาร 02 568 8848 นอกเวลาราชการ 081 839 2068 หรือ email: [email protected])
ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนโดรนในประเทศไทย
- ต้องขอขึ้นทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงาน คือ กสทช และ กรมการบินพลเรือน
- การขึ้นทะเบียนกับ กสทช เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่
- การขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตผู้บังคับโดรน
Register at NBTC
การขอขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช จะต้องไปดำเนินการที่สำนักงานของกสทช ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที โดยไม่จำเป็นต้องนัดล่วงหน้า ใบทะเบียนที่ออกจากกสทช จะมีระยะเวลาเท่ากับวันหมดอายุวีซ่าของท่าน สำหรับนักท่องเที่ยว หรือ 90 วันโดยประมาณ
เอกสารที่ใช้สำหรับการขอขึ้นทะเบียนโดรนที่ กสทช
- กรอกแบบฟอร์ม คำขอขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมสำหัรบอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (คท30) และ แบบรับรองตนเองของผู้ครอบครองเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (คท32)
- สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนา หรือ สำเนาหนังสือเดินทางพร้อมตราประทับจาก ตม. พร้อมรับรองสำเนา สำหรับนักท่องเที่ยว
- สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนา หรือ หลักฐานที่อยู่โรงแรมที่ท่านพักในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย (สำหรับนักท่องเที่ยว)
- ภาพถ่ายโดรน โดยต้องเห็นชื่อรุ่น ตราอักษร (brand) เลขทะเบียน อุปกรณ์ควบคุมทั้งหมดที่มาพร้อมโดรน และ วิธีการใช้งานรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้ง (ท่านไม่จำเป็นต้องนำโดรนที่จะขึ้นทะเบียนไปที่ กสทช)
โทษปรับสำหรับโดรนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อกำหนดข้างต้นบังคับใช้กับโดรนทุกประเภทที่ติดกล้องรวมทั้งการใช้ส่วนตัว หากโดรนของท่านใช้ในเชิงพาณิชย์ ท่านจะต้องศึกษาข้อกำหนดเพิ่มเติมจากทางกรมการบินพลเรือน
การขอขึ้นทะเบียนโดรนที่กรมการบินพลเรือน
โดรนที่ติดกล้องทุกประเภทจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน
ท่านจะต้องทำการขึ้นทะเบียนโดรนของท่านกับ กสทช ก่อนจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนนักบินกับกรมการบินพลเรือนได้ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ล่วงหน้าจากเว็บไซต์ของกรมการบินพลเรือน ที่ uav.caat.or.th
Documents required for drone registration with CAAT:
- กรอกและลงนามหนังสือรับรองตนเอง
- สำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนา หรือ สำเนาหนังสือเดินทางพร้อมตราประทับจาก ตม. พร้อมรับรองสำเนา สำหรับนักท่องเที่ยว
- สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนา หรือ หลักฐานที่อยู่โรงแรมที่ท่านพักในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย (สำหรับนักท่องเที่ยว)
- ภาพถ่ายโดรน โดยต้องเห็นชื่อรุ่น ตราอักษร (brand) เลขทะเบียน อุปกรณ์ควบคุมทั้งหมดที่มาพร้อมโดรน และ วิธีการใช้งานรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้ง (ท่านไม่จำเป็นต้องนำโดรนที่จะขึ้นทะเบียนไปที่กรมการบินพลเรือน)
- สำเนาประกันภัยที่ระบุความคุ้มครองขึ้นต่ำ 1,000,000 บาทต่อความเสียหาย โดยคุ้มครองทั้งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่สาม
- วัตถุประสงค์การใช้โดรน
- สถานที่ที่ท่านจะควบคุมโดรน
- รายละเอียดสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัคร และ
ทางกรมการบินพลเรือนจะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารประมาณ 15 วันทำการ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเอกสารครบถ้วน ณ วันที่ขอขึ้นทะเบียน)
สำเนาประกันภัยโดรน ทะเบียนที่ออกโดย กสทช และ กรมการบินพลเรือน จะต้องอยู่กับท่านตลอดเวลาขณะที่ทำการบินโดรน
โทษสำหรับโดรนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการบินพลเรือน จำคุก 1 ปี หรือ ค่าปรับ 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ประกันภัยขั้นต่ำสำหรับโดรนที่บินในประเทศไทย
แบ่งออกเป็นประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ประกันภัยความเสียหายต่อโดรน
กรมการบินพลเรือนระบุ โดรนที่จะมาขึ้นทะเบียนกับกรมการบินฯ จะต้องเอาประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก โดยมีวงเงินความรับผิดต่อบุคคลที่สาม 1,000,000 บาท
ประกันภัยความคุ้มครองโดรน ให้ความคุ้มครองกรณีที่โดรนของท่านทำให้ทรัพย์สินของผู้อี่นได้รับความเสียหายหรือได้ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ รวมทั้ง ให้ความคุ้มครองไปถึงความเสียหายต่อโดรนของท่าน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตกลงทำประกันภัยกับผู้รับประกันภัย
ข้อมูลที่จะต้องระบุในประกันภัยโดรนของท่าน
- ชื่อ สกุล ของผู้เอาประกันภัย
- รายละเอียด ชื่อรุ่น ตราอักษร (brand) เลขทะเบียน น้ำหนัก ของโดรนที่เอาประกันภัย
- ต้องระบุความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยไว้อย่างชัดเจน
- วงเงินความรับผิดขั้นต่ำ 1,000,000 บาท
บริษัทฯ สามารถจัดหาความคุ้มครองประกันภัยให้กับโดรนของท่าน เพียงท่านกรอกข้อมูลตาม link ด้านล่าง https://www.feic.co.th/get-a-quote/#drone-insurance